My Photo

我的时候

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครอง สถานการณ์ทั่วไปในจีน


                                                   การเมือง
(1) การเมืองการปกครอง
ในระบอบการปกครองของจีนพรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นผู้กำหนดนโยบายทุกด้านให้รัฐบาลไปปฏิบัติ (รัฐบาลจึงไม่ใช่องค์กรกำหนดนโยบาย) โดยจีนมีนโยบายภายในที่สำคัญ ดังนี้ 

1.2 จีนยังไม่เน้นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างรวดเร็ว จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะเดียวกัน เพื่อลดกระแสกดดันการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประเมินแล้วว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในระยะ 10 ปีข้างหน้า นายเจียง เจ๋อหมิน จึงได้เสนอหลักการ 3 ตัวแทนขึ้นมาและบรรจุลงไปในธรรมนูญของพรรค หลักการ 3 ตัวแทน จะสามารถลดแรงกดดันของกลุ่มนายทุนใหม่และนักวิชาการเรื่องปฏิรูปการเมืองได้ โดยพรรคคอมมิวนิสต์เปิดกว้างให้คนเหล่านี้เข้าไปมีส่วนร่วมใน พรรคและการบริหารประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ จีนได้เริ่มปล่อยให้การปกครองระดับท้องถิ่นในระดับตำบลและเมือง (อำเภอ) มีการเลือกตั้งโดยอิสระแล้วตั้งแต่ปี 2538
1.1 เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี “เสียวคาง” แก่คนจีนในระดับเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในระดับกลาง ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ในขณะเดียวกัน ก็ต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างภาคตะวันออก กับภาคตะวันตก ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาการเมือง สังคม ความแตกแยกของชนชาติที่รุนแรง จึงได้กำหนดให้พัฒนาภาคตะวันตกไปในเวลาเดียวกันด้วย
หลักการสามตัวแทนได้กำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนใน 3 ด้าน คือ 
(1) ด้านการผลิต โดยดูแลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 
(2) ด้านวัฒนธรรม โดยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ 
(3) เปิดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น กล่าวคือ ได้เปิดให้กลุ่มนายทุนและนักธุรกิจ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่พรรคกำหนดเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพรรคจากตัวแทนเชิงปฏิวัติ หรือตัวแทนของชนชั้นแรงงาน เป็นตัวแทนเชิงบริหาร หรือตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น
(2) พรรคคอมมิวนิสต์จีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มีพรรค คอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีสมาชิกประมาณ 68 ล้านคน (สถิติเดือนกรกฎาคม 2546) เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จตามแนวทางลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ความคิดของอดีตประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงทฤษฎีสามตัวแทนที่ได้รับการบรรจุเข้าในธรรมนูญของรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 โดยรัฐบาลและรัฐสภามีหน้าที่คอยปฏิบัติตามมติและนโยบายที่พรรค กำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 จนถึงปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แล้วรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง โดยได้จัดประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งนายหู จิ่นเทา ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คนปัจจุบัน (วาระ 5 ปี)
การเมืองภายในจีนยังคงมีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 8-14พฤศจิกายน 2545 ได้มีการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ซึ่งมีการถ่ายโอนอำนาจจากผู้นำรุ่นที่ 3 ซึ่งมีนายเจียง เจ๋อหมิน เป็นแกนนำ ไปยังรุ่นที่ 4 ซึ่งมีนายหู จิ่นเทา เป็นแกนนำ
ที่ประชุมได้แต่งตั้งนายหู จิ่นเทา เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน พร้อมทั้งแต่งตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Members of Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee of CPC) อีก 8 คน ถือได้ว่าบุคคลทั้ง 9 คนนี้ เป็นผู้ที่มีความสำคัญทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน
ระหว่างวันที่ 5-18 มีนาคม 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติสมัยที่ 10 ขึ้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการสรุปผลการบริหารประเทศในช่วง 5 ปี พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ โดยได้แต่งตั้งให้ นายหู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นประธานาธิบดี (สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน) และนายเวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี (สืบแทนนายจู หรงจี) ในขณะที่ นายเจียง เจ๋อหมิน ยังคงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อไปอีกสมัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น