My Photo

我的时候

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

อุตสาหกรรมในจีน







   

    

    เผยสินค้าไทย ที่จีน ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการมาก ทั้งที่ปักกิ่ง เซียงไฮ้ เสฉวน กวางโจว ยูนาน ธิเบต หูหนัน หูเป่ย ชันตง เจียงซี ฯลฯ ขณะเดียวกันยังมีอุตสาหกรรมบางประเภท ที่ต้องการให้คนไทยเข้าไปลงทุน  ข้อมูลจากสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ชี้โอกาสทองของนักธุรกิจต่างชาติในการทำการค้า และการเข้าไปลงทุนไปในประเทศจีนตามความต้องการของแต่ละมณฑลทั้งในด้านสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แม้ว่าจีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่เหมาะทำการเกษตร ทั้งการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอันเนื่องมากจากนโยบายในการพัฒนาประเทศ ทำให้ผลผลิตโดยรวมลดลงในแทบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นข้าว ถั่วลิสง หรืออ้อยใน ขณะที่ความต้องการบริโภคอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ทั้งภาคเมืองและภาคชนบท  ซันซีต้องการสินค้าเกษตรเพิ่ม 20%  มณฑลซันซีที่ตั้งอยู่ทางเหนือ แม้จะมีพื้นฐานการเกษตรที่เข้มแข็ง สามารถปลูกพืชประเภทข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง มันฝรั่ง บัควีท และถั่ว แต่ก็ยังมีความต้องการสินค้าเกษตรที่ไม่สามารถผลิตได้อย่างข้าว ผักผลไม้เมืองร้อนเช่นกัน โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปีที่ผ่านมา    คนเสฉวนชอบข้าวไทย มณฑลเสฉวนแม้จะมีพื้นที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพที่สามารถเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารที่หลากหลาย แต่จำนวนประชากรที่มากถึง 87 ล้านคน ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรสูง ทั้งที่สินค้าเกษตรไทย เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นจะมีราคาที่สูงกว่า แต่คนเสฉวนมีทัศนคติในทางบวกกับสินค้าเกษตรจากไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ทำให้นักธุรกิจไทยมีโอกาสที่สดใสในมณฑลนี้ 
              
                   9พื้นที่ต้องการมันสำปะหลัง   จีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตกปีละ 6.6 ล้านตัน แต่สามารถผลิตในประเทศได้เพียง 3.75 ล้านตัน โดยจะนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นแป้งมัน แป้งมันสำเร็จรูป การนำไปผลิตแอลกอฮอล์ และใช้เป็นแป้งในอุตสาหกรรมเคมี โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี และไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของจีนในผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแทบทุกประเภท  โดยแต่ละพื้นที่จะมีความต้องการมันสำปะหลังที่แตกต่างกัน ที่มณฑลกว่างซี ยุนนาน อันฮุย เหอหนัน หูเป่ย เสฉวน และ กันซู ต้องการมันสำปะหลังเพื่อการเลี้ยงสัตว์คือจะใช้เป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงหมู ขณะที่มณฑลเซียงไฮ้ และซันตง ต้องการมันสำปะหลังเพื่อไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้น โอกาสการที่นักธุรกิจไทยจะขยายตลาดไปยังจีนจึงมีสูงมาก จากการประมาณความต้องการมันสำปะหลังคาดว่าตลาดจีนน่าจะต้องการมันสำปะหลังไม่น้อยกว่าปีละ 5 – 10 ล้านตัน ในช่วง 10 ปีข้างหน้า      เหอเหลียงเจีย จีหลิน ต้องการอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไทยผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ต่าง ๆ เพื่อการส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่ง ไปยังจีนโดยมีสินค้าที่ต้องการเป็นชิ้นส?วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร? แผงวงจรไฟฟ?า และ Hard Disk Drive (HDD) โดยมีมูลค่ารวมนับแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. 1,192 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนถึงร้อยละ 73.95 โดยมีเมืองที่มีความต้องการสูง คือเมืองที่เป็นเขตอุตสาหกรรมสารสนเทศเช่น เฮยหลงเจียง จี๋หลิน และ เสฉวน 

              จีนต้องการยางพารารองรับการขยายตัว แม้ว่าจีนจะมีความสามารถในการผลิตยางพาราใช้เอง แต่ไม่เพียงพอกับการบริโภคที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 เพื่อใช้ในการผลิตยางรถยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้างต่าง ๆ จากพื้นที่การผลิต 3.86 ล้านไร่ ทำให้มีกำลังการผลิตเพียง 0.5 ล้านตัน ขณะที่การบริโภคสูงถึง 1.5 ล้านตัน ทำให้จีนมีความต้องการในการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศ  สำหรับยางพาราจากประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพโดยเมืองที่มีศักยภาพและต้องการสินค้ายางพาราไทย ได้แก่ เฮยหลงเจียง ที่เป็นเขตการค้ากับรัสเซียตลอดจนคนในพื้นที่มีกำลังซื้อสูง จี๋หลินที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ เป็นเมืองท่า และรัฐเน้นพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนการคมนาคม มณฑลเทียนจินที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองท่าสำคัญและเป็นแหล่งสินค้าผลิตรถยนต์ เมืองคูนหมิง มณฑลยุนนาน ที่เป็นเมืองที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังเติบโต และเมืองหลันโจว มณฑลกันซู่ ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจวที่เป็นแหล่งนำเข้ายางพาราจากไทย               7 เมืองใหญ่ต้องการเม็ดพลาสติก      จีนเป็นประเทศที่ไทยส่งออกเม็ดพลาสติกมากเป็นอันดับสอง มีมูลค่าการส่งออก นับจากช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ของปีนี้ จำนวน 300.87 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเม็ดพลาสติกถือเป็นสินค้าปฐมภูมิที่ใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตอุตสาหกรรมอื่น แม้จีนจะมีความสามารถในการผลิตเช่นกันและมีข้อดีที่ค่าแรงถูก แต่ด้วยอัตราต้นทุนการผลิตที่สูงถึงร้อยละ 80 ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีมณฑลที่มีความต้องการจากไทยนั้นจะเป็นมณฑลที่เป็นเขตอุตสาหกรรมได้แก่ จี๋หลิน เหลียวหนิง เทียนจิน ในภาคเหนือ ชานตง เจียงซู เจียงซี อันฮุยในภาคตะวันออก 

                     พื้นที่ลงทุนด้านอุตสาหกรรม    อย่างไรก็ดีการเข้าไปลงทุนเพื่อทำธุรกิจและอุตสาหกรรมในจีนนั้น ปัจจุบันนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในจีนเป็นอันดับที่ 18 ของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิต เช่นชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งภายใน เครื่องจักรกลการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การผลิตยาสมุนไพร การบรรจุหีบห่อและภาคบริการ เช่นร้านอาหารไทย และในส่วนของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างสาธารณูปโภค ทั้งนี้เพราะจีนกำลังขยายความเจริญจากเขตเมืองไปสู่ภาคตะวันตกของประเทศ  ขณะเดียวกันจีนมีความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นถ่านหิน เพื่อนำมาใช้ในรูปของพลังงานและการแปรรูปต่าง ๆ ซึ่ง มีพื้นที่ที่เปิดรับนักลงทุนในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นซันซี มองโกเลียใน อันฮุย เจียงซี เหอหนัน ส่านซี และมีการต้องการลงทุนในพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานลมที่ ธิเบต และหูหนัน   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น