My Photo

我的时候

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สนธิสัญญาเบาว์ริง



หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษแลประเทศสยาม (อังกฤษ: Treaty of Friendship and Commerce between the British Empire and the Kingdom of Siam)หรือบนปกสมุดไทย ใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ
 (อังกฤษ: Bowring Treaty)เป็นสนธิสัญญาที่ราชอาณาจักร
สยามทำกับสหราชอาณาจักร ลงนามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 โดยเซอร์จอห์น เบาว์ริง ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย เข้ามาทำสนธิสัญญา ซึ่งมีสาระสำคัญในการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศในสยาม มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศโดยการสร้างระบบการนำเข้าและ
ส่งออกใหม่ เพิ่มเติมจากสนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาฉบับก่อนหน้าซึ่งได้รับการลงนามระหว่างสยามและสหราชอาณาจักรใน พ.ศ. 2369


สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าเสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการ
จัดเก็บภาษีอย่างหนักสนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกุงสุ
ลอังกฤษในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้

การส่งออกสินค้าในจีน




1.ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี
1.1 ความหมายของนโยบายการค้าเสรี


                นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) มีรากฐานมาจากทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (The Theory of Comparative Advantage) ที่เสนอว่า แต่ละประเทศควรจะเลือกผลิตแต่เฉพาะสินค้าที่ตนมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นั้นไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศอื่นมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบ ถึงแม้ว่าประเทศหนึ่งจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบอีกประเทศหนึ่งในการผลิตสินค้าทุกชนิดก็ตาม ประเทศทั้งสองก็ย่อมจะทำการค้าต่อกันได้ โดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่เมื่อเปรียบกับสินค้าอื่นแล้ว ประเทศตนสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด แล้วนำมาแลกเปลี่ยนสินค้าที่ผลิตขึ้นกับอีกประเทศหนึ่ง
                นโยบายการค้าเสรีไม่สนับสนุนการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงและขจัดข้อบังคับต่าง ๆ ที่กีดกันการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศที่ใช้นโยบายการค้าเสรีจะมีลักษณะโดยทั่วไป ดังนี้
                        1) ดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำ กล่าวคือ เลือกผลิตแต่สินค้าที่ประเทศนั้นมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงและมีต้นทุนการผลิตต่ำ
                        2) ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองช่วยเหลืออุตสาหกรรมในประเทศแต่อย่างใด คงเก็บแต่ภาษีศุลกากรเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ
                        3) ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการเก็บภาษีอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่าๆ กัน
                        4) ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ไม่มีการควบคุมการนำเข้าหรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของรัฐเท่านั้น

การขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจีน


1. การจัดทำเว็บไซต์ของบริษัทเอง ทั้งนี้ ต้องลงทุนในด้าน
เทคโนโลยี และว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2. การดำเนินธุรกิจผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสมัคร
เป็นสมาชิกและชำระค่าสมาชิกหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นช่องทางที่ลงทุนต่ำ

และรวดเร็ว เช่น เว็บไซต์ Taobao.com ซึ่งตั้งแต่ปี 2549 เว็บไซต์ Taobao.com ได้ตั้งบริการ B2C ให้ผู้ประกอบการเปิดร้านค้าและจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์

อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบัน Taobao.com ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ โดยในเว็บไซต์Taobao.com ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตาม


รูปแบบที่ต้องการ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียด นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถสนทนากับเจ้าของร้านโดยตรงผ่านโปรแกรม AliWW และให้คะแนนความ

พึงพอใจ รวมทั้งให้คะแนนต่อสินค้า นอกจากนี้ Taobao.com ยังมีระบบชำระเงินที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ซึ่งถือเป็นเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ล้ำหน้าที่สุดใน

ประเทศจีน

การทหารของจีน


เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ประกาศรายงานกำลังทหารจีนประจำปี 2004 ฉบับหนึ่งที่ยื่นต่อสภาทางเว็ปไซท์ทางการของกระทรวง รายงานฉบับนี้ได้เเต่งเติบความเหลี่ยมล้ำด้านกำลังทหาระหว่างเเผ่นดินใหญ่จีนกับไต้หวันเป็นการใหญ่ เเละประกาศว่า ทหารปลดเเอกของจีนกำลังเตรียมการเพื่อเเอกชนะใน สงครามช่องเเคบไต้หวันที่อาจจะเิกิดขึ้น ฝ่ายไต้หวันก็ใช้การณ์นี้ มาดำเนินกิจกรรมบางอย่าง ประกาศว่าจะต้องมีสงครามระหว่างสองฟากฝั่งช่อง เเคบไตหวันภายในสองปี เเละเเผ่นดินใหญ่จะยึดไต้หวันได้ด้วย ในไม่กี่วันเป็นต้น ต่อการณ์นี้ ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีน
หลังจากสหรัฐประกาศรายงานกำลังทหารจีนเเล้ว ยังความสนใจจากวงการต่างๆอย่างมาก โดยพิจารณาจากสถานการณ์ของช่องเเคบไต้หวันในปัจจุบัน ศาสตราจารย์จิน อีหนานเเห่งมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศจีนเห็นว่า การที่ฝ่ายทหารสหรัฐประกาศรายงานประเมินกำลังทหารของจีน ในทุกปีนั้น เป็ฯการพยายามจะหา "คู่ต่อสู้"รายหนึ่ง เพื่อหาข้ออ้างให้ กับการดำรงอยู่ของกำลังทหารที่มีขนาดใหญ่ของตน เป็นการเเสดง ออกองความคิดสงครามเย็น เขากล่าวว่า การที่สหรัฐประกาศรายงานเกี่ยวกับกำลังทหารประจำปีของจีนใน เเต่ละปีนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดยุทธศาสตร์เเบบเก่า เอาความคิดที่ล้า่หลังมาบรรยายโลกในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความต้องการ ที่จะยับยั้งการพัฒนาของจีัน


เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ประกาศรายงานกำลังทหารจีนประจำปี 2004 ฉบับหนึ่งที่ยื่นต่อสภาทางเว็ปไซท์ทางการของกระทรวง รายงานฉบับนี้ได้เเต่งเติบความเหลี่ยมล้ำด้านกำลังทหาระหว่างเเผ่นดินใหญ่จีนกับไต้หวันเป็นการใหญ่
เเละประกาศว่า ทหารปลดเเอกของจีนกำลังเตรียมการเพื่อเเอกชนะใน สงครามช่องเเคบไต้หวันที่อาจจะเิกิดขึ้น ฝ่ายไต้หวันก็ใช้การณ์นี้ มาดำเนินกิจกรรมบางอย่าง ประกาศว่าจะต้องมีสงครามระหว่างสองฟากฝั่งช่อง เเคบไตหวันภายในสองปี เเละเเผ่นดินใหญ่จะยึดไต้หวันได้ด้วย ในไม่กี่วันเป็นต้น ต่อการณ์นี้ ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารของจีน
หลังจากสหรัฐประกาศรายงานกำลังทหารจีนเเล้ว ยังความสนใจจากวงการต่างๆอย่างมาก โดยพิจารณาจากสถานการณ์ของช่องเเคบไต้หวันในปัจจุบัน ศาสตราจารย์จิน อีหนานเเห่งมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศจีนเห็นว่า การที่ฝ่ายทหารสหรัฐประกาศรายงานประเมินกำลังทหารของจีน ในทุกปีนั้น เป็ฯการพยายามจะหา "คู่ต่อสู้"รายหนึ่ง เพื่อหาข้ออ้างให้ กับการดำรงอยู่ของกำลังทหารที่มีขนาดใหญ่ของตน เป็นการเเสดง ออกองความคิดสงครามเย็น เขากล่าวว่า
การที่สหรัฐประกาศรายงานเกี่ยวกับกำลังทหารประจำปีของจีนใน เเต่ละปีนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของความคิดยุทธศาสตร์เเบบเก่า เอาความคิดที่ล้า่หลังมาบรรยายโลกในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเกิดจากความต้องการ ที่จะยับยั้งการพัฒนาของจีัน

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

อุตสาหกรรมในจีน







   

    

    เผยสินค้าไทย ที่จีน ขาดแคลน และเป็นที่ต้องการมาก ทั้งที่ปักกิ่ง เซียงไฮ้ เสฉวน กวางโจว ยูนาน ธิเบต หูหนัน หูเป่ย ชันตง เจียงซี ฯลฯ ขณะเดียวกันยังมีอุตสาหกรรมบางประเภท ที่ต้องการให้คนไทยเข้าไปลงทุน  ข้อมูลจากสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ชี้โอกาสทองของนักธุรกิจต่างชาติในการทำการค้า และการเข้าไปลงทุนไปในประเทศจีนตามความต้องการของแต่ละมณฑลทั้งในด้านสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แม้ว่าจีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่เหมาะทำการเกษตร ทั้งการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอันเนื่องมากจากนโยบายในการพัฒนาประเทศ ทำให้ผลผลิตโดยรวมลดลงในแทบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นข้าว ถั่วลิสง หรืออ้อยใน ขณะที่ความต้องการบริโภคอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ทั้งภาคเมืองและภาคชนบท  ซันซีต้องการสินค้าเกษตรเพิ่ม 20%  มณฑลซันซีที่ตั้งอยู่ทางเหนือ แม้จะมีพื้นฐานการเกษตรที่เข้มแข็ง สามารถปลูกพืชประเภทข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง มันฝรั่ง บัควีท และถั่ว แต่ก็ยังมีความต้องการสินค้าเกษตรที่ไม่สามารถผลิตได้อย่างข้าว ผักผลไม้เมืองร้อนเช่นกัน โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปีที่ผ่านมา    คนเสฉวนชอบข้าวไทย มณฑลเสฉวนแม้จะมีพื้นที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพที่สามารถเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารที่หลากหลาย แต่จำนวนประชากรที่มากถึง 87 ล้านคน ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรสูง ทั้งที่สินค้าเกษตรไทย เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นจะมีราคาที่สูงกว่า แต่คนเสฉวนมีทัศนคติในทางบวกกับสินค้าเกษตรจากไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ทำให้นักธุรกิจไทยมีโอกาสที่สดใสในมณฑลนี้ 
              
                   9พื้นที่ต้องการมันสำปะหลัง   จีนมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตกปีละ 6.6 ล้านตัน แต่สามารถผลิตในประเทศได้เพียง 3.75 ล้านตัน โดยจะนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นแป้งมัน แป้งมันสำเร็จรูป การนำไปผลิตแอลกอฮอล์ และใช้เป็นแป้งในอุตสาหกรรมเคมี โดยมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี และไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของจีนในผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแทบทุกประเภท  โดยแต่ละพื้นที่จะมีความต้องการมันสำปะหลังที่แตกต่างกัน ที่มณฑลกว่างซี ยุนนาน อันฮุย เหอหนัน หูเป่ย เสฉวน และ กันซู ต้องการมันสำปะหลังเพื่อการเลี้ยงสัตว์คือจะใช้เป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงหมู ขณะที่มณฑลเซียงไฮ้ และซันตง ต้องการมันสำปะหลังเพื่อไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้น โอกาสการที่นักธุรกิจไทยจะขยายตลาดไปยังจีนจึงมีสูงมาก จากการประมาณความต้องการมันสำปะหลังคาดว่าตลาดจีนน่าจะต้องการมันสำปะหลังไม่น้อยกว่าปีละ 5 – 10 ล้านตัน ในช่วง 10 ปีข้างหน้า      เหอเหลียงเจีย จีหลิน ต้องการอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไทยผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ต่าง ๆ เพื่อการส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับหนึ่ง ไปยังจีนโดยมีสินค้าที่ต้องการเป็นชิ้นส?วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร? แผงวงจรไฟฟ?า และ Hard Disk Drive (HDD) โดยมีมูลค่ารวมนับแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. 1,192 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนถึงร้อยละ 73.95 โดยมีเมืองที่มีความต้องการสูง คือเมืองที่เป็นเขตอุตสาหกรรมสารสนเทศเช่น เฮยหลงเจียง จี๋หลิน และ เสฉวน 

              จีนต้องการยางพารารองรับการขยายตัว แม้ว่าจีนจะมีความสามารถในการผลิตยางพาราใช้เอง แต่ไม่เพียงพอกับการบริโภคที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 เพื่อใช้ในการผลิตยางรถยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้างต่าง ๆ จากพื้นที่การผลิต 3.86 ล้านไร่ ทำให้มีกำลังการผลิตเพียง 0.5 ล้านตัน ขณะที่การบริโภคสูงถึง 1.5 ล้านตัน ทำให้จีนมีความต้องการในการนำเข้ายางพาราจากต่างประเทศ  สำหรับยางพาราจากประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพโดยเมืองที่มีศักยภาพและต้องการสินค้ายางพาราไทย ได้แก่ เฮยหลงเจียง ที่เป็นเขตการค้ากับรัสเซียตลอดจนคนในพื้นที่มีกำลังซื้อสูง จี๋หลินที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ เป็นเมืองท่า และรัฐเน้นพัฒนาเทคโนโลยีตลอดจนการคมนาคม มณฑลเทียนจินที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม เมืองท่าสำคัญและเป็นแหล่งสินค้าผลิตรถยนต์ เมืองคูนหมิง มณฑลยุนนาน ที่เป็นเมืองที่ภาคอุตสาหกรรมกำลังเติบโต และเมืองหลันโจว มณฑลกันซู่ ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจวที่เป็นแหล่งนำเข้ายางพาราจากไทย               7 เมืองใหญ่ต้องการเม็ดพลาสติก      จีนเป็นประเทศที่ไทยส่งออกเม็ดพลาสติกมากเป็นอันดับสอง มีมูลค่าการส่งออก นับจากช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. ของปีนี้ จำนวน 300.87 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเม็ดพลาสติกถือเป็นสินค้าปฐมภูมิที่ใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตอุตสาหกรรมอื่น แม้จีนจะมีความสามารถในการผลิตเช่นกันและมีข้อดีที่ค่าแรงถูก แต่ด้วยอัตราต้นทุนการผลิตที่สูงถึงร้อยละ 80 ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีมณฑลที่มีความต้องการจากไทยนั้นจะเป็นมณฑลที่เป็นเขตอุตสาหกรรมได้แก่ จี๋หลิน เหลียวหนิง เทียนจิน ในภาคเหนือ ชานตง เจียงซู เจียงซี อันฮุยในภาคตะวันออก 

                     พื้นที่ลงทุนด้านอุตสาหกรรม    อย่างไรก็ดีการเข้าไปลงทุนเพื่อทำธุรกิจและอุตสาหกรรมในจีนนั้น ปัจจุบันนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในจีนเป็นอันดับที่ 18 ของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่อุตสาหกรรมการผลิต เช่นชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งภายใน เครื่องจักรกลการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การผลิตยาสมุนไพร การบรรจุหีบห่อและภาคบริการ เช่นร้านอาหารไทย และในส่วนของการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างสาธารณูปโภค ทั้งนี้เพราะจีนกำลังขยายความเจริญจากเขตเมืองไปสู่ภาคตะวันตกของประเทศ  ขณะเดียวกันจีนมีความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นถ่านหิน เพื่อนำมาใช้ในรูปของพลังงานและการแปรรูปต่าง ๆ ซึ่ง มีพื้นที่ที่เปิดรับนักลงทุนในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นซันซี มองโกเลียใน อันฮุย เจียงซี เหอหนัน ส่านซี และมีการต้องการลงทุนในพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานลมที่ ธิเบต และหูหนัน   

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (ASEAN+3)

  1. ภูมิหลัง
~



  • วิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียในปี 2540 ทำให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเสริมสร้างความร่วมมือให้แน่นแฟ้นขึ้น โดยมีแนวคิดริเริ่มและกลไกต่างๆ เพื่อการป้องกันและแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคนี
  • ในปี 2542 ประมุขของรัฐและรัฐบาลของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งเรียกกลุ่มประเทศนี้ว่า อาเซียน+3 ได้ประชุมร่วมกันโดยตกลงที่จะเสริมสร้าง กลไกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” (“self-help support mechanism”) ให้มากขึ้น ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ได้ประชุมที่เชียงใหม่ และได้ตกลงที่จะจัดตั้งโครงการการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระดับภูมิภาค หรือที่เรียกว่า แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่เพื่อเสริมกลไกโครงการเงินกู้ระหว่างประเทศที่มีอยู่ 
  • นอกจากนี้ สมาชิกประเทศของอาเซียน+3 ยังได้เล็งเห็นปัญหาการพึ่งพาการกู้เงินตราต่างประเทศระยะสั้นในช่วงวิกฤติ จึงได้หันมาพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค เพื่อเพิ่มทางเลือกของการระดมเงินกู้ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งแนวคิดริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในเดือนสิงหาคม 2546 ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการออกพันธบัตรสกุลท้องถิ่นและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดพันธบัตร 
                                                                2.  หน้าที่หลัก

  • ในปัจจุบัน งานของอาเซียน+3 สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การพัฒนาตลาดพันธบัตร และการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ
  • สำหรับด้านการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือ แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินระยะสั้น ในขณะนี้มี 8 ประเทศสมาชิกของกลุ่มอาเซียน+3 เข้าร่วมโครงการนี้ โดยจัดทำความตกลงทวิภาคีด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเงินตราที่จะสามารถเบิกถอนได้เมื่อมีความต้องการ ขณะนี้จำนวนเงินรวมของเครือข่ายเท่ากับ 84 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินดังกล่าวมีเพื่อเสริมโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ การเบิกถอนส่วนใหญ่จะทำได้เมื่อประเทศผู้กู้เข้าโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินฯ เท่านั้น อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกสามารถเบิกถอนวงเงินได้ร้อยละ 20 ของวงเงินกู้รวมโดยไม่ต้องเข้าโครงการเงินกู้กองทุนการเงินฯ เพื่อช่วยสภาพคล่องในระยะสั้น ถึงแม้ว่าที่ผ่านมายังไม่มีการกู้เงินภายใต้แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่นี้ แต่ก็มีการปรับปรุงกลไกอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกเห็นพ้องที่จะพัฒนาจากกลไกทวิภาคีในปัจจุบันเป็นระบบพหุภาคี โดยจะจัดตั้งกองทุนเงินสำรองระหว่างประเทศแบบ Self-managed reserve pooling arrangementและมีสัญญาจัดตั้งกองทุนฉบับเดียว การหารือเรื่องนี้กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
  • งานของ แนวคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรในเอเชีย ได้แบ่งเป็นคณะทำงาน 4 คณะ คือ (1) คณะทำงานด้านออกพันธบัตรในสกุลท้องถิ่น (2) คณะทำงานด้านการสร้างกลไกประกันสินเชื่อและการลงทุน (3) คณะทำงานด้านความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนเงินตราและโอนเงินในการซื้อขายพันธบัตร และ (4) คณะทำงานด้านธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือบริษัทในภูมิภาค 
  • ส่วนระบบการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน+3 นั้น ดำเนินการผ่านกลไกที่เรียกว่า การประเมินเศรษฐกิจและหารือด้านนโยบาย ซึ่งสมาชิกจะหารือภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจของตน ตลอดจนนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง ในการหารือนี้ ผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชียและกองทุนการเงินฯ เข้าร่วมในบางช่วงด้วย นอกจากนี้ เพื่อให้การสอดส่องดูแลมีคุณภาพที่สูง ได้มีการจัดตั้ง คณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อเฝ้าระวังเศรษฐกิจ และมี กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มาให้ข้อมูลทางเทคนิคและความเห็นจากมุมมองภายนอก ตามลำดับ อนึ่ง ยังมี คณะวิจัยที่ทำงานวิจัยระยะยาวในประเด็นที่สมาชิกให้ความสนใจอีกด้วย
  • งานของอาเซียน+3 มีความคล้ายกับงานของอาเซียนในลักษณะที่มีหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยในด้านการเงินการธนาคารมีกระบวนการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งมีการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอาเซียน+3 ปีละครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ปีละสองครั้งเพื่อทบทวนและให้แนวทางแก่คณะทำงานของแนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ และแนวคิดริเริ่มการพัฒนาพันธบัตรเอเชีย การประชุมดังกล่าวยังเป็นเวทีเพื่อการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจอีกด้วย
                     

                           3. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 พร้อมกับกระทรวงการคลังไทยโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของธปท. เช่น แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธปท. ยังมีส่วนร่วมในคณะทำงานต่างๆ ของแนวคิดริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียอีกด้วย

การเมืองการปกครอง สถานการณ์ทั่วไปในจีน


                                                   การเมือง
(1) การเมืองการปกครอง
ในระบอบการปกครองของจีนพรรคคอมมิวนิสต์จะเป็นผู้กำหนดนโยบายทุกด้านให้รัฐบาลไปปฏิบัติ (รัฐบาลจึงไม่ใช่องค์กรกำหนดนโยบาย) โดยจีนมีนโยบายภายในที่สำคัญ ดังนี้ 

1.2 จีนยังไม่เน้นการปฏิรูปทางการเมืองอย่างรวดเร็ว จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะเดียวกัน เพื่อลดกระแสกดดันการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนประเมินแล้วว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในระยะ 10 ปีข้างหน้า นายเจียง เจ๋อหมิน จึงได้เสนอหลักการ 3 ตัวแทนขึ้นมาและบรรจุลงไปในธรรมนูญของพรรค หลักการ 3 ตัวแทน จะสามารถลดแรงกดดันของกลุ่มนายทุนใหม่และนักวิชาการเรื่องปฏิรูปการเมืองได้ โดยพรรคคอมมิวนิสต์เปิดกว้างให้คนเหล่านี้เข้าไปมีส่วนร่วมใน พรรคและการบริหารประเทศได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ จีนได้เริ่มปล่อยให้การปกครองระดับท้องถิ่นในระดับตำบลและเมือง (อำเภอ) มีการเลือกตั้งโดยอิสระแล้วตั้งแต่ปี 2538
1.1 เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และกำหนดเป้าหมายให้ GDP เพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัว และทำให้จีนสร้างความกินดีอยู่ดี “เสียวคาง” แก่คนจีนในระดับเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในระดับกลาง ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ในขณะเดียวกัน ก็ต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างภาคตะวันออก กับภาคตะวันตก ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาการเมือง สังคม ความแตกแยกของชนชาติที่รุนแรง จึงได้กำหนดให้พัฒนาภาคตะวันตกไปในเวลาเดียวกันด้วย
หลักการสามตัวแทนได้กำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนใน 3 ด้าน คือ 
(1) ด้านการผลิต โดยดูแลการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 
(2) ด้านวัฒนธรรม โดยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีของจีน และนำวัฒนธรรมอื่นที่ดีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ 
(3) เปิดให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น กล่าวคือ ได้เปิดให้กลุ่มนายทุนและนักธุรกิจ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่พรรคกำหนดเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของพรรคจากตัวแทนเชิงปฏิวัติ หรือตัวแทนของชนชั้นแรงงาน เป็นตัวแทนเชิงบริหาร หรือตัวแทนของประชาชนทุกชนชั้น
(2) พรรคคอมมิวนิสต์จีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองในระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มีพรรค คอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีสมาชิกประมาณ 68 ล้านคน (สถิติเดือนกรกฎาคม 2546) เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จตามแนวทางลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ความคิดของอดีตประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง ทฤษฎีการสร้างสรรค์สังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงทฤษฎีสามตัวแทนที่ได้รับการบรรจุเข้าในธรรมนูญของรัฐเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 โดยรัฐบาลและรัฐสภามีหน้าที่คอยปฏิบัติตามมติและนโยบายที่พรรค กำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 จนถึงปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แล้วรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง โดยได้จัดประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งนายหู จิ่นเทา ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คนปัจจุบัน (วาระ 5 ปี)
การเมืองภายในจีนยังคงมีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 8-14พฤศจิกายน 2545 ได้มีการประชุมสมัชชาพรรคสมัยที่ 16 ซึ่งมีการถ่ายโอนอำนาจจากผู้นำรุ่นที่ 3 ซึ่งมีนายเจียง เจ๋อหมิน เป็นแกนนำ ไปยังรุ่นที่ 4 ซึ่งมีนายหู จิ่นเทา เป็นแกนนำ
ที่ประชุมได้แต่งตั้งนายหู จิ่นเทา เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน พร้อมทั้งแต่งตั้งสมาชิกถาวรประจำกรมการเมือง (Members of Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee of CPC) อีก 8 คน ถือได้ว่าบุคคลทั้ง 9 คนนี้ เป็นผู้ที่มีความสำคัญทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน
ระหว่างวันที่ 5-18 มีนาคม 2546 ได้มีการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติสมัยที่ 10 ขึ้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการสรุปผลการบริหารประเทศในช่วง 5 ปี พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ โดยได้แต่งตั้งให้ นายหู จิ่นเทา เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นประธานาธิบดี (สืบแทนนายเจียง เจ๋อหมิน) และนายเวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี (สืบแทนนายจู หรงจี) ในขณะที่ นายเจียง เจ๋อหมิน ยังคงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารพรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อไปอีกสมัย




ความสัมพันธ์ไทย-จีน




   

    บทความพิเศษ  สุรพงษ์ ชัยนาม  มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1299 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518 ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และทั้งสองประเทศ ก็ได้ร่วมกันจัดพิธีฉลองครบรอบ 30 ปีแห่งความสัมพันธ์ดังกล่าวเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2548 ที่ผ่านมา* เป็นเรื่องที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า 30 ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน เป็นเวลา 30 ปีที่ได้มีผลทำให้ประเทศทั้งสองมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นเป็นลำดับ และได้นำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันในทุกๆ ด้าน ตลอดจนช่วยคลี่คลายและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีระหว่างกันไปได้อย่างเป็นผลสำเร็จและโดยสันติวิธี รวมทั้งได้นำไปสู่การเพิ่มและขยายความร่วมมือในทุกๆ ด้านอย่างกว้างขวาง จึงถือได้ว่า เป็นเรื่องที่รัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศพึงมีความยินดีและภาคภูมิใจกับสภาพและสถานะแห่งความสัมพันธ์ไทย - จีน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ที่ได้กล่าวมานี้คืออดีต ส่วนปัจจุบันจะมีอิทธิพลต่อแนวโน้มของความสัมพันธ์ไทย - จีนในอนาคตอย่างไรนั้น หาได้ขึ้นอยู่กับลักษณะความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดสนิทชิดเชื้อระหว่างกันที่มีมาในอดีต 30 ปีเท่านั้น แต่ย่อมต้องรวมถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ภายในประเทศ (สภาพแวดล้อมภายใน) ทั้งของจีนและไทย และสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ (สภาพแวดล้อมภายนอกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก) ที่ปรากฏในแต่ละห้วงเวลาทั้งในปัจจุบัน และต่อไปในอนาคตว่ามีอิทธิพล และผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับจีนอย่างไร และมากน้อยเพียงใด ตลอดจนการตัดสินใจด้านนโยบาย และท่าทีของรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่จะมีต่อปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ทั้งที่ปรากฏภายในประเทศ และที่ปรากฏในระดับระหว่างประเทศ (ภายนอกประเทศ) อีกทั้งรูปแบบและเนื้อหาของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลังยุคสงครามเย็นก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล อันมีผลทำให้นโยบายต่างประเทศของทั้งประเทศไทยและประเทศจีนที่มีต่อปัญหาในด้านต่างๆ ของโลก ได้รับทั้งการปรับและเปลี่ยนไปอย่างมาก มีทั้งที่สอดคล้องกันและที่ขัดแย้งกัน



ทั้งนี้ สืบเนื่องโดยตรงมาจากการที่ทั้งสองประเทศมีผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลาย ซับซ้อนกว่าผลประโยชน์ที่เคยมีเมื่อ 30 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนั้น พัฒนาการในด้านต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นทั้งในไทยและจีนในรอบ 30 ปี ได้นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ แก่ทั้งสองประเทศ และเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งให้แก่ทั้งไทย และจีน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนอิทธิพลของโครงสร้างใหม่แห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังยุคสงครามเย็น (ยุคโลกาภิวัตน์) ได้เปิดโอกาสให้ทั้งไทย และจีน ต่างมีทางเลือกมากขึ้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศทั้งที่มีต่อกัน และที่มีต่อประเทศอื่นๆ ของสังคมโลก ซึ่งโครงสร้างใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้มีผลทำให้ลักษณะของการพึ่งพาแบบแนบแน่น ที่ทั้งสองประเทศเคยมีต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 ได้เจือจางลง  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากเดิมที่แบ่งชัดเจนออกเป็นสองขั้ว หรือสองค่าย (ยุคสงครามเย็น พ.ศ.2491 - 2532) มาเป็นแบบหลายขั้ว (พ.ศ.2533 - ปัจจุบัน) ได้มีอิทธิพลโดยตรง ต่อการกำหนดผลประโยชน์แห่งชาติและนโยบายต่างประเทศของทุกประเทศ มีผลทำให้ทั้งผลประโยชน์ และนโยบายต่างประเทศของทุกประเทศในโลกนี้มีความยืดหยุ่น และมีลักษณะเป็นอิสระ มากกว่าในสมัยยุคสงครามเย็น หรือสมัยที่การเมืองระหว่างประเทศแบ่งออกเป็นสองขั้วที่มีสหรัฐ และอดีตสหภาพโซเวียต ทำหน้าที่เป็นอภิมหาอำนาจผู้นำของแต่ละขั้ว

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจีน

การท่องเที่ยวที่มีประเด็นสำคัญ

นับตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติของจีนได้ประกาศ ประเด็นสำคัญทางการท่องเที่ยวที่ถือการท่องเที่ยวที่มีลักษณะพิเศษต่าง ๆ เป็นเนื้อหา สำคัญตลอดจนการเคลื่อนไหวทางการท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยวอันยอดเยี่ยม การท่องเที่ยวที่มีลักษณะพิเศษและนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อต่างประเทศในด้านนี้ ประเด็นสำคัญทางการท่องเที่ยวของจีนในปีนี้คือ การท่องเที่ยวเกี่ยวกับชีวิตความ เป็นอยู่ของคนจีน



การค้าระหว่างไทย-จีน

ธุรกิจ ไทย - จีน
       สภาธุรกิจไทย-จีน & สมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน นำนักธุรกิจจีนจากมณฑลเหอหนาน 170 คนเยือนไทย พร้อมจัดสัมมนา “ความร่วมมือการค้าการลงทุนไทย-เหอหนาน”เพื่อจับคู่พันธมิตรธุรกิจไทย-จีน / ลงนาม MOU รวดเดียว 9 โครงการรวมมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท  ในโอกาสที่ มร.กั๊ว เกิงม่าว ผู้ว่ามณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน นำคณะข้าราชการและนักธุรกิจกว่า 170 คนเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อหาลู่ทางความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนร่วมกันนั้น นายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ เครือเจริญ
โภคภัณฑ์ ในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-จีน และนายกสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการชักชวนคณะจากเหอหนานมาเยือนไทยในครั้งนี้ ได้ร่วมกับมณฑลเหอหนานจัดงานสัมมนาเรื่อง“ความร่วมมือการค้าการลงทุนไทย-เหอหนาน” ขึ้น ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี่, เอ รอยัล เมอริเดียน ถนนวิทยุ (เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2552) โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังอย่างล้นหลาม และยังได้รับเกียรติจาก ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

     มร.โก๊ะ เกิงม่าว (Guo Gengmao) ผู้ว่ามณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่าเป็นมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของจีน เป็นมณฑลหลักในการผลิตอาหารป้อนแก่ชาวจีนทั้งประเทศ และยังเป็นมณฑลที่มีแร่ธาตุทรัพยากรมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะถ่านหินนั้นผลิตได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจีน ปัจจุบันมีการลงทุนจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 170 ประเทศ เม็ดเงินลงทุนราว 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในที่นี้มีบริษัทชั้นนำของโลก 57 แห่งที่ติดทำเนียบมหาเศรษฐีโลกจากการจัดอันดับของนิตยสาร Fortune รวมอยู่ด้วย โดยเหอหนานมีนโยบายเปิดประตูต้อนรับนักลงทุนจากต่างประเทศ และพร้อมที่จะขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน ร่วมกับนักลงทุนจากประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่จะให้นักลงทุนจากทั้งสองประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน


     นายธนากร เสรีบุรี กล่าวในงานสัมมนาดังกล่าวว่าเหอหนานเป็นมณฑลขนาดใหญ่ มีขนาดเศรษฐกิจ(GDP)ใกล้เคียงกับประเทศไทย ที่สำคัญเศรษฐกิจขยายตัวอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอดเฉลี่ยปีละ 13% นอกจากนี้เหอหนานยังเป็นมณฑลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในจีนคือมีจำนวนประชากรประมาณ 100 ล้านคน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่มีต่อธุรกิจการส่งออกของประเทศไทยโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ตลอดจนผลไม้เขตร้อนของประเทศไทยเกือบทุกชนิด การที่ผู้ว่าโก๊ะ เกิงม่าวได้นำราชการและนักธุรกิจมาพบปะกับนักธุรกิจของไทย จึงเป็นการสานต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แนบแน่นยิ่งขึ้นและเป็นการเกื้อหนุนต่อกันในด้านการค้าและการลงทุน


   ด้านไทยก็เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคและเป็นประตูสำคัญที่สุดในการเข้าสู่ประเทศอาเซียน การเปิดตลาดเสรีอาเซียนในปีพ.ศ.2553 ตลอดจนการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีพ.ศ.2558 ย่อมเป็นโอกาสที่ดียิ่งของประเทศไทยในการดึงดูดนักธุรกิจจีนที่มีศักยภาพและมีสินค้าที่ตลาดในภูมิภาคนี้ต้องการ ให้มาร่วมลงทุนเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

      การสัมมนาในครั้งนี้เป็นบทบาทสำคัญของสภาธุรกิจไทย-จีนและสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะงานสัมมนาในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการเสาะหาลู่ทางในการศึกษาหาพันธมิตรในการร่วมมือทำการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวในอนาคตทั้งสองประเทศ

แผ่นดินไหวในจีน

   ทางการจีน เปิดเผยว่า จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง 5.4 ริกเตอร์ ความลึก 10 กม. ในเมืองหยิงเจียง มณฑลยูนนาน ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 28 คน บาดเจ็บ 250 คน ขณะที่บ้านเรือนเสียหาย 1,200 หลัง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และหน่วยกู้ภัย กำลังเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร นอกจากนั้นยังมีการอพยพประชาชน กว่า 127,000 คน ไปพักอาศัยตามเต็นท์ที่พักชั่วคราว ล่าสุด ทางการจีนเร่งส่งความช่วยเหลือทั้งอาหาร น้ำ และสิ่งบรรเทาทุกข์ต่างๆ เข้าไปในพื้นที่ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวแล้ว

   ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาของพม่า ออกแถลงการณ์ว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองมัณฑะเลย์ ราว 370 กิโลเมตร แต่ไม่มีรายงานความเสียหาย หรือผู้บาดเจ็บ
ล่าสุดเมื่อช่วงเวลา 24.00 น.ที่ผ่านมา มีรายงานเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.2 ริกเตอร์ นอกชายฝั่งเกาะบาหลี ห่างจากเมืองเดปาซาร์ ราว 261 กิโลเมตร ลึกลงไปใต้พื้นดิน ราว 504 กิโลเมตร ไม่มีรายงานการเกิดสึนามิ หรือความเสียหายใดๆ




อิทธิพลของจีน

    เมื่อไม่นานมานี้ จีนได้ตัดสินใจที่จะสร้างท่าเรือแห่งที่สอง ที่กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา โดยท่าเรือแห่งแรกนั้นอยู่ที่เขตฮัมบันโตตา นอกจากนี้จีนยังตกลงที่จะสร้างทางรถไฟและถนนเชื่อมระหว่างมณฑลยูนนาน และจิตตะกองซึ่งเป็นเมืองท่าของบังคลาเทศ การพัฒนาต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้จีนก้าวล้ำเข้าสู่ขอบเขตยุทธศาสตร์ของอินเดีย

คนงานศรีลังกาทำงานใต้แสงไฟสว่างจ้าที่ท่าเรือหลักในโคลอมโบเมื่อปี พ.ศ. 2552[เอเจนซ์ ฟรานซ์-เพรส]

   จีนได้ขยายการลงทุนในสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ในเอเชียใต้อย่างเข้มข้นตลอดหลายปีที่ผ่านมาในทศวรรษนี้ โดยเริ่มจากการสร้างทางหลวงคาราโครัม ที่ตัดข้ามเทือกเขาคาราโครัมผ่านช่องเขาคุนเจรับ ที่สูงกว่า 4,690 เมตร ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อประเทศจีนและปากีสถาน จนได้ชื่อว่าเป็นทางหลวงที่สูงที่สุดในโลก หลังจากนั้นจีนได้สร้างท่าเรือในศรีลังกา บังคลาเทศ ปากีสถานและพม่า แม้ว่าอินเดียจะมีสัมพันธภาพที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านยกเว้นปากีสถาน แต่ความสัมพันธ์ที่คืบหน้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับจีนทำให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลทางการทูตเพิ่มขึ้นเหนืออินเดีย


   เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อินเดียได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกับศรีลังกา และข้อตกลงนี้ก็นำมาซึ่งผลสำเร็จและทำให้อินเดียเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของศรีลังกา แต่ในขณะนี้ผลประโยชน์ต่าง ๆ ของอินเดียแทบจะสูญหายไปเกือบหมด เมื่อจีนได้ครองตำแหน่งผู้บริจาคเงินรายใหญ่ที่สุดในประเทศแทนที่ประเทศญี่ปุ่น โดยปีที่แล้วจีนได้บริจาคเงินให้ ศรีลังกา 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินบริจาคจำนวนนี้มาถึงขณะที่ศรีลังกากำลังต่อสู่ห้ำหั่นกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือ แอลทีทีอี และหลังจากที่ประเทศตะวันตกอันได้แก่สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนีได้ลดการช่วยเหลือลง
คนงานกำลังขนถ่ายสินค้าจากเรือลำแรกที่เข้าเทียบท่าฮัมบันโตตาที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นท่าเรือที่ได้รับเงินทุนจากจีน [เอเจนซ์ ฟรานซ์-เพรส]

    นอกจากนี้ อินเดียยังให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลศรีลังกาด้านการทหารที่ไม่ก่อความรุนแรงถึงแก่ชีวิต เพื่อการต่อสู้กับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม แต่ก็เทียบไม่ได้กับความช่วยเหลือทางทหารที่มาจากจีน หรือหากจะระบุให้แคบลงกว่านั้นคือจากปากีสถาน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายโกทาบายา ราชาปักษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมศรีลังกาก็ได้เดินทางไปเยือนประเทศจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านการทหารให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งจีนก็ตอบแทนโดยการตกลงใจที่จะสร้างท่าเรืออีกแห่งในโคลอมโบ


   ไม่มีบริษัทใดของอินเดียสนใจสร้างท่าเรือนี้มาก่อนด้วยเหตุผลที่ว่า บริษัทต่าง ๆ ของอินเดียส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ของจีนเป็นของรัฐบาล ซึ่งจะได้รับการคุ้มครองดูแลจากรัฐในยามประสบปัญหา รวมทั้งไม่มีข้อผูกมัดที่ต้องสร้างมูลค่าและกำไรสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น บริษัทเหล่านี้ยื่นประมูลและเข้าควบคุมโครงการต่าง ๆ และทำให้รัฐบาลจีนได้รับผลประโยชน์และข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ การสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ฮัมบันโตตา และล่าสุดที่โคลอมโบ ก็เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้อหลังนี้เอง การสร้างฐานที่มั่นของจีนในฮัมบันโตตา จะ ทำให้จีนควบคุมพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลในมหาสมุทรอินเดียต่อเนื่องไปจนถึงแอนตาร์กติกา

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

เศรษฐกิจของจีน

        นโยบายและสถานภาพทางเศรษฐกิจของจีน
1.1  สถานภาพทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน
ด้วยวัตถุประสงค์ทางนโยบายที่ต้องการดำรงไว้ซึ่งการเติบโตที่มั่นคงทางเศรษฐกิจ รัฐบาลกลางจึงได้นำมาตรการเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2007 นั้น ผลจากมาตรการที่เข้มงวดของรัฐบาลมีผลทำให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริง (Real GDP) ซึ่งในช่วงปี 2005 ถึง 2006 เศรษฐกิจของจีนยังเติบโตถึง 10.2% และ 10.7% ตามลำดับ และในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2007 เศรษฐกิจจีนมีการเติบโตถึง 11.9% หลังจากที่ช่วงไตรมาสแรกมีการเติบโตอยู่ที่ 11.1% แต่อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสที่ 3 และ4 มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจถดถอยลงโดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 11.5% และ 11.2%ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ในปี 2007 มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 11.4%  


การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยหลังจากปี 2004  ที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 27.6% และยังมีการขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในปี 2005 ถึง 2006 เพิ่มขึ้น 27.2% และ 24.5% ตามลำดับ ถึงแม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลดวงเงินประกันพันธบัตรเพื่อการก่อสร้าง ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรยังคงถูกคาดหวังว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และในปี 2007 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรยังคงเพิ่มขึ้น 25.8%


       การค้าปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภค
ตลาดการค้าปลีกในปี 2007 มีการเติบโต 16.8% คิดเป็นมูลค่า 8,921 ล้านหยวน ซึ่งการเติบโตในตลาดอุปโภคบริโภคมีปัจจัยมาจากนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นการบริโภค ซึ่งประกอบไปด้วย การให้มีสินเชื่อเพื่อการบริโภค และการขยายระยะเวลาวันหยุด
การเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนมีผลให้มีการเพิ่มขึ้นในภาคการค้าปลีกอย่างมีนัยสำคัญ จนส่งผลให้ในปี 2006 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นที่ 13.7% และเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงปี 2007 ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 16.8% โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ เสื้อผ้า อุปกรณ์ตกแต่งและก่อสร้าง

มูลค่าเพิ่มของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2005 มูลค่าเพิ่มของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (โดยรัฐวิสาหกิจและวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการขายมากกว่า 5 ล้านหยวนต่อปี) เพิ่มขึ้น 16.4% และในปี 2006 มีมูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 16.6% ทั้งนี้ มูลค่าเพิ่มของผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าวลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปีเดียวกันที่มีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 17.7% แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2007 มูลค่าเพิ่มผลผลิตของอุตสาหกรรมขยายตัวอยู่ที่ 18.5% โดยเป็นมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมหนักเพิ่มขึ้น 19.6% ในขณะที่อุตสาหกรรมเบาเพิ่มขึ้น 16.3% และผลผลิตของกิจการที่ลงทุนโดยชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 17.5%