My Photo

我的时候

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (ASEAN+3)

  1. ภูมิหลัง
~



  • วิกฤติเศรษฐกิจในเอเชียในปี 2540 ทำให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเสริมสร้างความร่วมมือให้แน่นแฟ้นขึ้น โดยมีแนวคิดริเริ่มและกลไกต่างๆ เพื่อการป้องกันและแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคนี
  • ในปี 2542 ประมุขของรัฐและรัฐบาลของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งเรียกกลุ่มประเทศนี้ว่า อาเซียน+3 ได้ประชุมร่วมกันโดยตกลงที่จะเสริมสร้าง กลไกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” (“self-help support mechanism”) ให้มากขึ้น ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ได้ประชุมที่เชียงใหม่ และได้ตกลงที่จะจัดตั้งโครงการการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระดับภูมิภาค หรือที่เรียกว่า แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่เพื่อเสริมกลไกโครงการเงินกู้ระหว่างประเทศที่มีอยู่ 
  • นอกจากนี้ สมาชิกประเทศของอาเซียน+3 ยังได้เล็งเห็นปัญหาการพึ่งพาการกู้เงินตราต่างประเทศระยะสั้นในช่วงวิกฤติ จึงได้หันมาพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค เพื่อเพิ่มทางเลือกของการระดมเงินกู้ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งแนวคิดริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในเดือนสิงหาคม 2546 ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการออกพันธบัตรสกุลท้องถิ่นและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดพันธบัตร 
                                                                2.  หน้าที่หลัก

  • ในปัจจุบัน งานของอาเซียน+3 สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การพัฒนาตลาดพันธบัตร และการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ
  • สำหรับด้านการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือ แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินระยะสั้น ในขณะนี้มี 8 ประเทศสมาชิกของกลุ่มอาเซียน+3 เข้าร่วมโครงการนี้ โดยจัดทำความตกลงทวิภาคีด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเงินตราที่จะสามารถเบิกถอนได้เมื่อมีความต้องการ ขณะนี้จำนวนเงินรวมของเครือข่ายเท่ากับ 84 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินดังกล่าวมีเพื่อเสริมโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ การเบิกถอนส่วนใหญ่จะทำได้เมื่อประเทศผู้กู้เข้าโครงการเงินกู้ของกองทุนการเงินฯ เท่านั้น อย่างไรก็ดี ประเทศสมาชิกสามารถเบิกถอนวงเงินได้ร้อยละ 20 ของวงเงินกู้รวมโดยไม่ต้องเข้าโครงการเงินกู้กองทุนการเงินฯ เพื่อช่วยสภาพคล่องในระยะสั้น ถึงแม้ว่าที่ผ่านมายังไม่มีการกู้เงินภายใต้แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่นี้ แต่ก็มีการปรับปรุงกลไกอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิกเห็นพ้องที่จะพัฒนาจากกลไกทวิภาคีในปัจจุบันเป็นระบบพหุภาคี โดยจะจัดตั้งกองทุนเงินสำรองระหว่างประเทศแบบ Self-managed reserve pooling arrangementและมีสัญญาจัดตั้งกองทุนฉบับเดียว การหารือเรื่องนี้กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
  • งานของ แนวคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรในเอเชีย ได้แบ่งเป็นคณะทำงาน 4 คณะ คือ (1) คณะทำงานด้านออกพันธบัตรในสกุลท้องถิ่น (2) คณะทำงานด้านการสร้างกลไกประกันสินเชื่อและการลงทุน (3) คณะทำงานด้านความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนเงินตราและโอนเงินในการซื้อขายพันธบัตร และ (4) คณะทำงานด้านธุรกิจการจัดอันดับความน่าเชื่อถือบริษัทในภูมิภาค 
  • ส่วนระบบการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน+3 นั้น ดำเนินการผ่านกลไกที่เรียกว่า การประเมินเศรษฐกิจและหารือด้านนโยบาย ซึ่งสมาชิกจะหารือภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจของตน ตลอดจนนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง ในการหารือนี้ ผู้แทนจากธนาคารพัฒนาเอเชียและกองทุนการเงินฯ เข้าร่วมในบางช่วงด้วย นอกจากนี้ เพื่อให้การสอดส่องดูแลมีคุณภาพที่สูง ได้มีการจัดตั้ง คณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อเฝ้าระวังเศรษฐกิจ และมี กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มาให้ข้อมูลทางเทคนิคและความเห็นจากมุมมองภายนอก ตามลำดับ อนึ่ง ยังมี คณะวิจัยที่ทำงานวิจัยระยะยาวในประเด็นที่สมาชิกให้ความสนใจอีกด้วย
  • งานของอาเซียน+3 มีความคล้ายกับงานของอาเซียนในลักษณะที่มีหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยในด้านการเงินการธนาคารมีกระบวนการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ผลักดัน ซึ่งมีการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอาเซียน+3 ปีละครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ปีละสองครั้งเพื่อทบทวนและให้แนวทางแก่คณะทำงานของแนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ และแนวคิดริเริ่มการพัฒนาพันธบัตรเอเชีย การประชุมดังกล่าวยังเป็นเวทีเพื่อการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจอีกด้วย
                     

                           3. ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 พร้อมกับกระทรวงการคลังไทยโดยตลอด โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ในความรับผิดชอบของธปท. เช่น แนวคิดริเริ่มเชียงใหม่ และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอดส่องดูแลเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ธปท. ยังมีส่วนร่วมในคณะทำงานต่างๆ ของแนวคิดริเริ่มการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น